วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Project05

โครงงานคอมพิวเตอร์ ......................................
กลุ่มที่ 5
สมาชิกกลุ่ม  
1.นางสาวณัฐกมล  หนูเหมือน เลขที่24 ชั้นม.5/11
2.นางสาวฟาติมา   ศรอินทร์ เลขที่25 ชั้นม.5/11
3.นางสาวรชศา  นาคมุสิก เลขที่26 ชั้นม5/11
วิธีดำเนินการ
1.ศึกษาค้นคว้า สอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
2.ให้บุคลต่างๆแสดงความคิดเห็นโดยการทำแบบสอบถาม
ผลการดำเนินการ 
โครงงานที่เราสนใจเป็นโครงงานเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันมีปัญหาอยู่มากเช่น ปัญหารถติด มลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นต้น และมีการรณรงค์วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยมีการนำเสนอสื่อแบบ Stopmotion ผ่านทางโปรแกรม ulead vidiostudio 11
แหล่งเรียนรู้
1.อินเทอร์เน็ต
2.สอบถามจากบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์จริง

หลักฐานประกอบ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ ฟาติมา  ศรอินทร์
ชื่อเล่น ฟา
ที่อยู่ 6 ซ.ประชาสุข ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร จ.สุราฎร์ธานี
วันเกิด 20 ตุลาคม 2541
สีที่ชอบ สีแดง

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Stop motion

สตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย 
1. เคลย์แอนิเมชั่น (Clay animation หรือ เคลย์เมชั่น  claymation) คือ แอนิเมชั่นที่ใช้หุ่น หรือรูปทรง ซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้ แล้วเคลื่อนไหวไปทีละท่าทางตามต้องการ เมื่อนำภาพทั้งหมดมาเรียงเป็นเฟรมต่อกัน ก็จะเสมือนว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
2. คัตเอาต์แแอนิเมชั่น (Cutout animation) คือ การนำวัสดุสองมิติ เช่น กระดาษ หรือผ้า มาตัดเป็นรูปต่าง ๆ แล้วนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แล้วนำเฟรมมาต่อกัน เล่าเป็นเรื่องราวตามหัวข้อที่กำหนด แต่ปัจจุบันอาจวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ เช่น move, rotate หรือ resize
3. หุ่นกระบอก หรือโมเดลแอนิเมชั่น (Puppet or Model animation) คือ การทำตัวละครเป็นโมเดลขึ้นมาขยับร่วมกับวัตถุอื่น อาจมีการซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริง และภาพพื้นเสมือนจริงก็ได้
4. พิกซิลเลชั่น (Pixilation) คือ การใช้คนจริงมาขยับท่าทางเพื่อแสดงการเคลื่อนไหว แล้วถ่ายเก็บไว้ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาฉายต่อเนื่องกันให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของคนอย่างไหลลื่น
5. แอนิเมชั่นกับวัตถุ (Object animation) คือ การนำวัตถุที่ไม่สามารถดัดแปลงรูปร่างหน้าตาแบบดินเหนียว มาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างภาพ เช่น ของเล่น หุ่น ตุ๊กตา หรือตัวต่อเลโก้
6. แอนิเมชั่นเงาของแสง (Silhouette animation) คือ การแสดงให้เห็นวัตถุผ่านเงา อาจสร้างวัตถุจากกระดาษ แล้วนำมาบังแสงเพื่อให้ได้เงาที่ต้องการ อาจใช้วิธีอื่นก็ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ปรับจากการแสดงด้วยเงาคล้ายหนังตะลุง 

โลกร้อนกับชีวิต

โลกร้อนกับชีวิต 
            โลกของเรามีผลกระทบจากมนุษย์มากมายและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่นสัตว์ล้มตายอาจเป็นผลกระทบจากมนุษย์หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้น ทุกวันนี้มักจะมีโรคระบาดเพิ่มขึ้นมากเช่นโรคไข้หวัดนก อาจเกิดจากโลกร้อน มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเปลื่ยนไป
ในอนาคตโลกจะเต็มไปด้วยมลพิษ น้ำท่วม ภัยต่างๆมากมาย
            อีกไม่กี่ปีหากไม่ดูแลโลกตั้งแต่วันนี้โลกจะเป็นเหมือนดังภาพมนุษย์อาจสะดวกสบายในโลกที่อันตรายด้วยอุปกรณ์ต่างๆ แทบไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะมีอุปกรณ์ต่างๆคอยให้ความสะดวกสบาย
มนุษย์ในอนาคตอาจยืนไม่ได้ อ้วนและฉลาด ถ้าโลกใช้ไม่ได้อาจต้องย้ายที่อยู่อาศัย เป็นคำนายของนักวิทยาศตร์หลายคน

หลักสำคัญstop motion

Stop Motion เป็นการนำสิ่งของมาจัดท่าทางแล้วทำการถ่ายภาพทีละรูป ให้มีท่าทางที่ต่อเนื่องกัน แล้วนำภาพที่ได้มาแสดงเรียงกันด้วยความเร็วจนเหมือนเป็นภาพเคลื่อนไหว จริงๆมันก็เหมือนการทำอนิเมชั่นหรือการทำหนังที่ใช้หลักการเดียวกัน 


ในความเห็นผม stop motion เป็นอะไรที่ทำยากกว่าหนังและอนิเมชั่น เพราะ หนังถ่ายจากของจริง อนิเมชั่นวาดทีละเฟรม(ภาพ) แต่ stop motion เป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งวัตถุซึ่งบางครั้งเปลี่ยนแค่เพียงเล็กน้อยในบางจุด โดยไม่ให้จุดอื่นเคลื่อนตาม

เนื่องจากการทำ stop motion เป็นการนำเสนอสื่อผ่านวิดีโอ ฉะนั้นก็ความจะรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิดีโอซักเล็กน้อย

ปกติเวลาเราทำวิดีโอจะออกมาสองมาตราฐานคือ NTSC หรือ PAL ซึ่งจะแตกต่างกันที่จำนวนเฟรม (ภาพที่ใช้ต่อวินาที) โดย NTSC จะใช้ 30 ภาพต่อวินาที และ PAL จะใช้ 25 ภาพต่อวินาที ซึ่งยิ่งจำนวนภาพต่อวินาทีมีมากเท่าไรภาพที่เคลื่อนไหวก็จะมีความนุ่มนวลเท่านั้น แล้วคิดดูว่าถ้าจะทำ stop motion 1 วินาทีแบบ NTSC ต้องใช้ภาพที่แตกต่างกันถึง 30 ภาพกันเลยทีเดียว 

ปัจจัยอื่นที่ทำให้ stop motion เคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวลนั้นไม่ได้อยู่ที่จำนวนภาพที่ใช้อย่างเดียว แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือความต่อเนื่องของภาพถ้าใช้จำนวนภาพเยอะ แต่ท่าทางการขยับไม่ต่อเนื่องหรือสัมพันธ์กัน ภาพที่ออกมาก็โดดอยู่ดี

แต่สำหรับการทำวิดีโอโพสบนคอมนั้นไม่ต้องทำมาถึงขนาดนั้นครับ แค่ 8 ภาพต่อวินาทีก็เพียงพอแล้ว (จริงๆ 2 ภาพที่แตกต่างกันยังได้เลย แต่ภาพจะไม่นุ่มนวล) และที่สำคัญถ้าไม่ได้มีรายละเอียดของภาพมากนักไม่จำเป็นต้องใช้ต้นฉบับที่มีขนาดใหญ่
มาก กล้องบนมือถือก็พอใช้งานได้แล้วครับ (ใช้แค่ 640 ก็พอแล้วแหละ)

หลักสำคัญเวลาจะทำ stop motion
- วางพ็อตเรื่องก่อนทำ (ไม่งั้นทำเสร็จภาพที่ต้องการอาจจะไม่ครบ)
- กำหนดจำนวนภาพต่อวินาทีของผลงานที่จะทำ
- กำหนดเวลาของหนัง (จะได้รู้จำนวนภาพที่ใช้)
- การขยับวัตถุต้องไม่ให้ส่วนอื่นขยับตาม (ให้ขยับเฉพาะจุดที่ต้องการ)
- กล้องต้องนิ่งอยู่จุดเดิม (ถ้าไม่ได้ทำลักษณะกล้องเคลื่อนไหว)
- ความอดทน (แหะ แหะ ก็มันถ่ายนานอยู่)
- ควรอยู่ในสภาวะที่ควบคุมแสงได้

ประวัติstop motion

Stop-motion เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 มันถูกสร้างโดยใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ลองมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ Stop-motion
ในสมัยก่อน การทำ stop-motion ส่วนมากจะทำกับวัตถุที่เคลื่อนไหวเองไม่ได้ ต้องทำการถ่ายรูปแล้วก็ขยับวัตถุทีละน้อยแล้วก็ถ่ายรูปซ้ำไปซ้ำมา พอได้ภาพจำนวนหนึ่ง ก็จะนำมาเรียงต่อกันเพื่อทำเป็นหนัง stop-motion เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ The Humpty Dumpty Circus สร้างโดย Albert Smith กับ Stuart Blackton ในปี 1899
Emile Cohl
Emile Cohl นักสร้างการตูนและผู้สร้างอนิเมชั่นชาวฝรั่งเศส เป็นคนนำ stop-motion เข้ามาสู่อเมริกา เขาใช้ ภาพวาด หุ่นจำลอง และอื่นๆที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เท่าที่เขาจะหาได้ สำหรับทำ stop-motion แล้วหนัง stop-motion เรื่องแรกของเขา ชื่อว่า Fantasmagorie เขาสร้างมันเสร็จในปี 1908 ใช้ภาพวาดทั้งหมด 700 ภาพ แล้วถ่ายรูปขึ้นมาเพื่อนำมาทำเป็นอนิเมชั่น
Willis O’Brien
Willis O’Brien เป็นผู้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับวงการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมสร้างคือ The Lost World ในปี 1925 ในภาพยนตร์มีบางช่วงที่เป็น stop-motion ซึ่งเขาเป็นคนทำมัน จากผลงานนี้ทำให้เขาได้ร่วมงานกับทีมสร้าง King Kong

สร้างอนิเมชั่นด้วยตัวเอง (Stop Motion 101)

สร้างอนิเมชั่นด้วยตัวเอง (Stop Motion 101)
Stop motion animation is fast becoming one of the most famous ways of film making worldwide. Be able to do your own animation is both satisfying and rewarding.
สต๊อบโมชั่นอนิเมชั่นกลายเป็นวิธีสร้างหนังอนิเมชั่นที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก การสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้เป็นเรื่องที่น่าสนุกและน่าสนใจ
What you need to start animating is very basic and simple. First you need to choose a camera. There are many types of camera to choose from, all of them are usable for stop motion as long as you have the proper software and video connection device.
สิ่งที่เราต้องมีในการเริ่มสร้างหนังอนิเมชั่นนั้นเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างแรกคือเราต้องมีกล้อง มีกล้องให้เลือกหลายแบบ กล้องทุกประเภทสามารถใช้ทำสต๊อปโมชั่นได้ถ้าคุณมีซอฟท์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสม
What we will be using for this tutorial is a cheap Logitech web camera, purchase new at a local store for 9 dollars. We will also need to use a computer and downloading some preview software.
สิ่งที่ผมจะใช้ในวีดีโอนี้คือ กล้องเว็บแคมของลอจิเทค ที่พึ่งซื้อมาจากร้านในราคา 9 ดอลล่าร์ เราจะใช้คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นทดลองใช้
Depending on the kind of computer you use, mac or PC would also determine the program you’ll use. Here is a partial list to help you choose which software you’d prefer to use.
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้ จะเป็นแมค หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ก็จะเป็นตัวกำหนดว่าคุณจะใช้โปรแกรมไหนได้บ้าง นี่คือรายชื่อของโปรแกรมที่คุณอาจจะเลือกใช้ได้
I’ll be using a Dell labtop with a trial version of stop motion pro. But you can use any kind of software you choose.
ผมจะใช้คอมพิวเตอร์แลบท๊อปของเดลล์ และซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นทดลองใช้ ของ Stop motion pro แต่คุณอาจจะใช้โปรแกรมอื่นๆก็ได้
After installing the software to the computer you’ll need to connect the webcam. Next, you will need to secure the camera. Either a stand of some sort like a tripod or you can simply tape it down to the table. This is to help eliminate any unstable movement when you are filming.
หลังจากติดตั้งซอฟท์แวร์แล้ว คุณต้องต่อกล้องเว็บแคม ติดเทปตั้งกล้องให้มั่นคง อาจจะใช้ขาตั้งกล้องหรือแค่ใช้เทปติดไว้ให้แน่นกับโต๊ะก็ได้ ทำแบบนี้เพื่อป้องกันกล้องไหวในขณะที่กำลังถ่ายทำ
Position the camera to your liking and then make sure that it’s focus. If you don’t have manual focus you might be able to lock the focus with the software that it came with. Manual focus is however very desirable for choosing camera for making stop motion animation.
ตั้งกล้องในมุมที่ชอบแล้วดูให้แน่ใจว่ากล้องโฟกัสอยู่ที่วัตถุ ถ้าไม่มีระบบโฟกัสด้วยมือ คุณอาจจะสามารถล๊อคโฟกัสได้ด้วยซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับกล้อง แต่ถ้าเป็นไปได้ ระบบโฟกัสด้วยมือเป็นเรื่องที่สมควรจะมีถ้าคุณกำลังเลือกซื้อกล้องสำหรับการถ่ายสต๊อปโมชั่น
Next, you may want to add some light to your scene. A simple desk lamb can help brighten up a dark environment and make you animation a little bit more dramatic.
อันดับต่อไป คุณอาจจะเพิ่มแสงสักหน่อย โคมไฟอ่านหนังสือตั้งโต๊ะก็อาจจะทำให้บรรยากาศที่มืดทึบดูสว่างขึ้น แล้วก็ทำให้ภาพเคลื่อนไหวของคุณดูสมจริงมากยิ่งขึ้น
Now that we have everything hooked up, we’ll need to set up our session.
เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็ต้องเริ่มการตั้งโปรแกรมสำหรับถ่ายทำ
The standard of movie and film format worldwide can really get confusing. So I wanted to give you a list of standard video and high definition size that you may want to work in. I will be working in a 640 by 480 pixles which is the lowest quality for standard definition. But it also the most process able on the computer you will also need to choose your frame rate in setting up your session. Here’s the list of frame rates use for television and film along with the frame rates used for animation worldwide.
มาตรฐานสำหรับหนังและภาพเคลื่อนไหวที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกอาจทำให้คุณสับสน คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบไฟล์วีดีโอที่จะใช้ทำงาน ก็คือ ผมจะใช้ขนาด 640 คูณ 480 พิกเซลล์ ซึ่งเป็นขนาดเล็กที่สุดของมาตราฐานสากล เนื่องจากขนาดนี้เป็นขนาดที่สามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์ได้สบาย นอกจากนี้คุณยังต้องเลือกอัตราความถี่ของเฟรมในงานของคุณ นี่คือรายการความถี่ของเฟรมที่ใช้ในโทรทัศน์และภาพยนตร์ รวมทั้งอัตราความถี่ที่มักจะใช้ในงานอนิเมชั่น
For this tutorial you will be using 12 frames per second. With our gear hooked up and our stage set, we are ready to animate. You see that we have chosen a bendable toy block character from the gumby TV series as the object of our animation. It is placed in front of the camera and set in a pose.
ในวีดีโอนี้เราจะใช้ความถี่ 12 เฟรมต่อวินาที เราต่ออุปกรณ์เรียบร้อย แล้วจัดเวทีพร้อมถ่ายทำ ทีนี้เราก็พร้อมจะถ่ายทำแล้ว จะเห็นว่าเราเลือกตัวละครที่เป็นตุ๊กตาที่สามารถงอได้ตามข้อต่อมาเป็นตัวเอกของภาพยนตร์อนิเมชั่นของเรา เราวางตัวละครไว้หน้ากล้องแล้วก็จัดท่ามัน
Get in the habit of number your frame before you start any movement of your character. I’ve chosen to take 12 frames before moving my character. This is to ensure that you have enough leeway in the beginning to start you animation. Next, you want to move your character or object making small movement in each shot. This means that if you want to move your character in any direction. You will have to move it in anyway right, left; up or down you have to move it in many steps right, left, up or down.
นับลำดับของรูปที่คุณถ่ายให้เป็นนิสัยก่อนที่คุณจะเริ่มถ่ายเฟรมต่างๆของตัวละครของคุณ ผมเลือกถ่ายภาพนิ่งๆของตัวละครเก็บไว้ก่อน 12 เฟรม เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีภาพตอนเริ่มต้นของอนิเมชั่นของคุณ ลำดับต่อไป เคลื่อนตัวละครของคุณทีละนิดแล้วถ่ายภาพทีละช๊อต หมายความว่าถ้าคุณจะเคลื่อนตัวละครของคุณไปทางไหน คุณก็จะต้องเคลื่อนตัวของมันไปในทิศทางนั้นไม่ว่าจะ ซ้ายขวา ขึ้นลง ก็ต้องขยับมันทีละนิด ซ้าย ขวา ขึ้นลงทีละน้อย
Imagine that you are moving it in slow motion and that each step along the way will enter into the pre-pose and those pose are the thing you are taking a photograph of each frame. When those frame are added together will actually equal your animation. This is what you are doing when you are animated. You are moving the object one frame at a time to give the illusion of the movement. If you use a preview software it will allows you to see your work as you progress. This will help your learning process for making animation a lot faster.
ลองจินตนาการว่าคุณกำลังจับมันเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เหมือนภาพสโลวโมชั่น แต่ละขั้นตอนการขยับจะกลายเป็นภาพแต่ละภาพหรือแต่ละเฟรม เมื่อนำเฟรมเหล่านี้มารวมกันเราจะได้ภาพเคลื่อนไหว นี่คือสิ่งที่คุณทำเวลาสร้างภาพเคลื่อนไหวขึ้น การขยับตัวละครทีละเฟรมทำให้ดูเหมือนว่ามันเคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน ถ้าคุณใช้ซอฟท์แวร์ที่ทำตัวอย่างให้ดูได้ด้วย คุณก็จะสามารถชมงานของตัวเองได้ในระหว่างถ่ายทำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้การทำการเคลื่อนไหว อนิเมชั่นได้ดีขึ้นมาก
Once you get the hang of the software and the process, you should feel free to play around with making animation. Export your animation and show the world what you have done.
เมื่อคุณเข้าใจขั้นตอนและใช้ซอฟท์แวร์ได้คล่องแล้ว ก็ควรจะหาหัวข้ออะไรสนุกๆ มาแสดงให้โลกเห็นว่าเรารู้อะไรบ้าง
There are many form of stop motion animation. But once you learn to understand the basic you should feel confident to try out and experiment them in another form. Clay Animation, puppet animation, object animation, pixlation and cut out animation were all areas that you should be aim to becoming a professional level animator. Or a hobbiest wisihing to achieve professional results.
You would like to see what’s going on in the world of stop motion animation.  Please go to our website.
การถ่ายสต๊อปโมชั่นยังแบ่งออกเป็นหลายแบบ แต่เมื่อเราเข้าในแนวคิดพื้นฐานแล้วคุณก็คงสามารถทดลองงานหลายๆแบบได้ต่อไป เคลย์อนิเมชั่น พัพเพ็ทอนิเมชั่น หรือ อ๊อบเจ็คอนิเมชั่น หรือ พิกเซเลชั่น ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบไหนถ้าคุณอยากเป็นมืออาชีพ หรืออยากทำเป็นงานอดิเรกลองดูผลงานในโลกแห่งสต๊อปโมชั่นได้ที่เว็บไซด์ของเรา