วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลักสำคัญstop motion

Stop Motion เป็นการนำสิ่งของมาจัดท่าทางแล้วทำการถ่ายภาพทีละรูป ให้มีท่าทางที่ต่อเนื่องกัน แล้วนำภาพที่ได้มาแสดงเรียงกันด้วยความเร็วจนเหมือนเป็นภาพเคลื่อนไหว จริงๆมันก็เหมือนการทำอนิเมชั่นหรือการทำหนังที่ใช้หลักการเดียวกัน 


ในความเห็นผม stop motion เป็นอะไรที่ทำยากกว่าหนังและอนิเมชั่น เพราะ หนังถ่ายจากของจริง อนิเมชั่นวาดทีละเฟรม(ภาพ) แต่ stop motion เป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งวัตถุซึ่งบางครั้งเปลี่ยนแค่เพียงเล็กน้อยในบางจุด โดยไม่ให้จุดอื่นเคลื่อนตาม

เนื่องจากการทำ stop motion เป็นการนำเสนอสื่อผ่านวิดีโอ ฉะนั้นก็ความจะรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิดีโอซักเล็กน้อย

ปกติเวลาเราทำวิดีโอจะออกมาสองมาตราฐานคือ NTSC หรือ PAL ซึ่งจะแตกต่างกันที่จำนวนเฟรม (ภาพที่ใช้ต่อวินาที) โดย NTSC จะใช้ 30 ภาพต่อวินาที และ PAL จะใช้ 25 ภาพต่อวินาที ซึ่งยิ่งจำนวนภาพต่อวินาทีมีมากเท่าไรภาพที่เคลื่อนไหวก็จะมีความนุ่มนวลเท่านั้น แล้วคิดดูว่าถ้าจะทำ stop motion 1 วินาทีแบบ NTSC ต้องใช้ภาพที่แตกต่างกันถึง 30 ภาพกันเลยทีเดียว 

ปัจจัยอื่นที่ทำให้ stop motion เคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวลนั้นไม่ได้อยู่ที่จำนวนภาพที่ใช้อย่างเดียว แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือความต่อเนื่องของภาพถ้าใช้จำนวนภาพเยอะ แต่ท่าทางการขยับไม่ต่อเนื่องหรือสัมพันธ์กัน ภาพที่ออกมาก็โดดอยู่ดี

แต่สำหรับการทำวิดีโอโพสบนคอมนั้นไม่ต้องทำมาถึงขนาดนั้นครับ แค่ 8 ภาพต่อวินาทีก็เพียงพอแล้ว (จริงๆ 2 ภาพที่แตกต่างกันยังได้เลย แต่ภาพจะไม่นุ่มนวล) และที่สำคัญถ้าไม่ได้มีรายละเอียดของภาพมากนักไม่จำเป็นต้องใช้ต้นฉบับที่มีขนาดใหญ่
มาก กล้องบนมือถือก็พอใช้งานได้แล้วครับ (ใช้แค่ 640 ก็พอแล้วแหละ)

หลักสำคัญเวลาจะทำ stop motion
- วางพ็อตเรื่องก่อนทำ (ไม่งั้นทำเสร็จภาพที่ต้องการอาจจะไม่ครบ)
- กำหนดจำนวนภาพต่อวินาทีของผลงานที่จะทำ
- กำหนดเวลาของหนัง (จะได้รู้จำนวนภาพที่ใช้)
- การขยับวัตถุต้องไม่ให้ส่วนอื่นขยับตาม (ให้ขยับเฉพาะจุดที่ต้องการ)
- กล้องต้องนิ่งอยู่จุดเดิม (ถ้าไม่ได้ทำลักษณะกล้องเคลื่อนไหว)
- ความอดทน (แหะ แหะ ก็มันถ่ายนานอยู่)
- ควรอยู่ในสภาวะที่ควบคุมแสงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น